คำแนะนำด้านการตรวจคัดกรอง
"มะเร็งเต้านม" ด้วยตนเอง
คำแนะนำด้านการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านม ด้วยตนเอง
โรคมะเร็งเต้านม
เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นลำดับแรกๆในหญิงไทย โรคมะเร็งเต้านมพบบ่อยในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยระยะเริ่มแรกมักคลำพบก้อนที่เต้านมโดยบังเอิญ ส่วนใหญ่ ไม่มีอาการเจ็บที่ก้อนในระยะเริ่มแรก แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา จะมีอาการบวมแดงของผิวหนังตรงที่มีก้อนหรือเป็นแผลแตก มีน้ำเหลืองไหลซึมในที่สุด ถ้าพบตั้งแต่ขนาดเล็กๆ
การคัดกรองมะเร็งเต้านม
- การตรวจภาพถ่ายรังสีเต้านมที่เรียกว่า การทำแมมโมแกรม เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจเป็นประจำทุก 1-2 ปี จนกระทั่งอายุ 70 ปี
- การตรวจสุขภาพประจำปี (Clinical Breast Examination) ในช่วงอายุ 20-39 ปี ควรให้แพทย์หรือพยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมการตรวจคลำ เต้านม (Clinical Breast Examination) คลำเต้านมให้ทุก 1-3 ปี เมื่อถึงช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรให้แพทย์หรือพยาบาลคลำเต้านมให้ทุกๆปี
- การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน (Breast Self Examination) ควรเริ่มต้นตรวจด้วยตนเองเมื่ออายุ 20 ปี ขึ้นไป เลือกตรวจ เต้านมภายหลังรอบเดือนหมดไปแล้ว 2-3 วัน
**ไม่ควรตรวจในช่วงก่อนมีรอบเดือน เพราะช่วงนั้นเต้านมจะคัดตึง อาจทำให้รู้สึกคล้ายมีก้อนแข็งผิดปกติได้ อาจทำก่อนหรือหลังอาบน้ำ
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจในขณะอาบน้ำ
- ขณะอาบน้ำ เป็นระยะเวลาที่ผิวหนังเปียกและลื่น จะทำให้การตรวจง่ายขึ้น การตรวจทำโดยใช้ปลายนิ้วมือวางราบ บนเต้า
นมคลำและเคลื่อนนิ้วมือในลักษณะคลึงเบา ๆ ให้ทั่ว ทุกส่วนของเต้านมเพื่อค้นหาก้อนหรือเนื้อที่แข็งเป็นไตผิดปกติ หลังอาบน้ำแล้วจึงทำการตรวจเต้านมขั้นต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 การตรวจหน้ากระจก
- ยืนตรงมือแนบลำตัว แล้วยกแขนขึ้นสูงเหนือศีรษะ สังเกตลักษณะของเต้านม เพราะการเคลื่อนยกแขนขึ้นนั้น จะสามารถมองเห็นความผิดปกติได้
- ยกมือเท้าเอว เอามือกดสะโพกแรง ๆ เพื่อให้เกิด การเกร็ง และหดตัวของกล้ามเนื้ออก สังเกตดูลักษณะที่ผิดปกติ
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจในท่านอน
- นอนราบ และยกมือข้างหนึ่งไว้ใต้ศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งตรวจคลำให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม (ภาพที่ 1, 2 และ 3)
- โดยเริ่มต้นที่จุดบริเวณส่วนนอกเหนือสุดของเต้านม (จุด X ในภาพ) เวียนไปโดยรอบเต้านม แล้วเคลื่อนมือ เขยิบเข้ามาเป็นวงแคบเข้าจนถึงบริเวณหัวนม
- จากนั้นค่อยๆ บีบหัวนมโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เพื่อสังเกตดูว่า มีน้ำเลือดน้ำหนอง หรือน้ำใส ๆ อื่นใดออกมาหรือไม่ เสร็จแล้วตรวจเต้านมอีกข้างหนึ่งในลักษณะเดียวกัน
ข้อมูลอัพเดท ณ วันที่ : 9 เมษายน 2567
|