ไทย  | อังกฤษ | ญี่ปุ่น
 
   


คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูง
Hypertension

 


คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง  ระยะเริ่มแรกส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ อาจตรวจพบได้โดยการตรวจสุขภาพประจำปีหรือเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น แล้วตรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย  ผู้ที่จัดอยู่ในสภาวะเสี่ยงหรือเข้าข่ายความดันโลหิตสูง เมื่อตรวจพบว่ามีความดันโลหิตค่าบนตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และความดันโลหิตค่าล่างตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป สามารถสังเกตอาการสำคัญที่อาจรู้สึกได้ เช่น มึนงง ตาพร่ามัว ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย   (มักจะปวดตอนตื่นนอน) เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย และอาจมีเลือดกำเดาไหล ถ้าไม่รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาหรือควบคุมโรคความดันโลหิตสูง จะทำให้หลอดเลือดแดงตีบแข็ง ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปอวัยวะต่างๆ  ไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น หัวใจวาย ไตวาย และหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบตันได้ในภายหลัง   

วิธีการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 

นอกเหนือจากการรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำไปตลอด และไม่ควรหยุดรับประทานยาเอง ประกอบกับการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ แม้จะรู้สึกว่าสบายดี  สามารถที่จะช่วยแพทย์ใน  การรักษาหรือควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและ การดำเนินชีวิตดังนี้

การควบคุมอาหาร

หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม ไม่เติมเกลือหรือน้ำปลา ไม่รับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลหรือไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันสัตว์ ครีม เนย กะทิ หันไปรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวรวมทั้งผลิตภัณฑ์จากพืชเช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด และรับประทานผักสดและผลไม้มากขึ้น ที่สำคัญคือ ควรประกอบอาหารด้วยวิธี ต้ม นึ่ง ตุ๋น แทนวิธีการผัด ทอด

งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และคาเฟอีนทุกชนิด

เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมที่ก่อให้เกิดไขมันในเลือดสูง หยุดสูบบุหรี่  เนื่องจากบุหรี่มีสารนิโคตินที่ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตัน โดยทำลายและส่งเสริมการหดตัวของหลอดเลือด  ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง


การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

อย่างน้อยวันละ 30 นาที จะทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดความดันโลหิตและช่วยลดน้ำหนัก ซึ่งจะต้องปฏิบัติควบคู่ไปกับการจำกัดอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมัน เป็นการป้องกันโรคของหลอดเลือดได้อีกทางหนึ่ง


การรักษาสภาพจิตใจ

พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เครียด วิตกกังวล เพราะจะทำให้หัวใจทำงานหนักและเต้นเร็วขึ้น ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ควรทำจิตใจให้แจ่มใสและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

          หากมีอาการผิดปกติ ที่นอกเหนือจากอาการที่เคยเกิดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งสามารถบรรเทาลงได้เอง อาการดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น เช่น อาการไอ วิงเวียน ใจสั่น หน้ามืด หายใจขัด ซึ่งอาจเป็นอาการข้างเคียงของยาลดความดันโลหิตแต่ละชนิด หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อปรับหรือลดขนาดของยาลงให้เหมาะสม

 


ข้อมูลอัพเดท ณ วันที่ : 16 ตุลาคม 2566

 

 

 

        

   บทความเพื่อสุขภาพ
   คลิปรายการสุขภาพ
   นักลงทุนสัมพันธ์
   CSR ลานนาเพื่อสังคม
   แผนกบริการ
   คลินิกพิเศษ
   ร่วมงานกับเรา
   ข่าวสารลานนา
   สิทธิประโยชน์ส่วนลด
    
        
 ศูนย์ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
   ศูนย์สวนหลอดเลือดสมอง
   ศูนย์ส่องกล้องผ่าตัดแผลเล็ก
  ศูนย์โรคปวดหลัง
   ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
   ศูนย์มะเร็งนรีเวช
   ศูนย์สูตินรีเวช
   ศูนย์เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
   ศูนย์กุมารเวชกรรม
   ศูนย์อายุรกรรม
   ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน
   ศูนย์ทันตกรรม
   ศูนย์โรคปวดท้อง
   ศูนย์ตรวจสุขภาพ
   ศูนย์ศัลยกรรมส่องกล้อง

           

 
designed by Lanna Hospital